หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558

จำนวนเต็ม (Integer)                 
                            จำนวนเต็ม คือ จำนวนที่ไม่มีเศษส่วนและทศนิยมรวมอยู่ในจำนวนนั้น 
                จำนวนเต็มประกอบด้วย  จำนวนเต็มบวก  จำนวนเต็มลบ  และศูนย์  ดังแผนภูมินี้
                                
                                    จำนวนเต็ม
                                จำนวนเต็มบวก           จำนวนเต็มลบ          จำนวนเต็มศูนย์
 
จำนวนเต็มแบ่งออกเป็น 3 ชนิด
จำนวนเต็มลบ
                      จำนวนเต็มลบ คือ จำนวนที่มีค่าน้อยกว่า ศูนย์ มีตำแหน่งอยู่ทางด้านซ้ายมื
            ของศูนย์เมื่ออยู่บนเส้นจำนวน และ จะมีค่าลดลงเรื่อย ๆ โดยไม่สามารถจะบอก
            ได้ว่าจำนวนใดจะมีค่าน้อยที่สุด แต่เราสามารถรู้ได้ว่าจำนวนเต็มลบที่มีค่า
            มากที่สุด คือ -เราพอจะสรุปลักษณะที่สำคัญของจำนวนเต็มลบได้ดังนี้
                1. จำนวนเต็มลบเป็นจำนวนที่มีค่าน้อยกว่าศูนย์ หรือถ้ามองบนเส้นจำนวน
                    ก็คือ เป็นจำนวนที่อยู่ทางซ้ายมือของศูนย์
                2. จำนวนเต็มลบที่มีน้อยที่สุดไม่สามารถหาได้ แต่ จำนวนเต็มลบที่มีค่ามากที่สุด คือ -1
                3. ตัวเลขที่ตามหลังเครื่องหมายลบ ถ้ายิ่งมีค่ามากขึ้นจำนวนเต็มลบนั้นจะมีค่า
                    น้อยลงกล่าวคือ ...-5 < -4 < -3 < -2 < -1
ศูนย์ ใช้สัญลักษณ์ "0" )                    ศูนย์ ใช้สัญลักษณ์ "0" ) เป็นจำนวนเต็มอีกชนิดหนึ่ง ที่เราไม่ถือว่าเป็นจำนวนนับ
            จากหลักฐานที่ค้นพบทำให้เราทราบว่ามนุษย์รู้จักใช้สัญลักษณ ์ "0" ในราวปี
            ค.ศ. 800 โดยที่ "0" แทนปริมาณของการไม่มีของหรือของที่ต้องการกล่าวถึง
             แต่ก็ไม่ใช่ว่า จะไม่มีความหมายถึงการไม่มีเสมอไป ตัวอย่างเช่น ระดับผลการ
            เรียนทางด้านความรู้ โดยนักเรียนที่มีระดับผลการเรียนเป็น ไม่ได้หมายความ
            ว่านักเรียนคนนั้นไม่มีความรู้ เพียงแต่ ว่ามีความรู้ในระดับหนึ่งเท่านั้น
จำนวนเต็มบวก หรือ จำนวนนับ
                     จำนวนเต็มบวก หรือ จำนวนนับ คือ จำนวนเต็มที่มีค่ามากกว่า ไปเรื่อย ๆ
           โดยที่ไม่สามารถระบุได้ว่าจำนวนนับตัวสุดท้ายเป็นอะไร จำนวนนับเริ่มต้นที่
             1 , 2 , 3, ... ซึ่งเราทราบแล้วว่า จำนวนนับที่น้อยที่สุด คือ จำนวนนับที่มากที่สุด
            หาไม่ได้ คุณสมบัติของศูนย์และหนึ่ง  

การบวก – ลบจำนวนเต็ม
1.  ผลบวกระหว่างจำนวนเต็มบวก  2  จำนวน  หรือ  จำนวนเต็มลบ  2  จำนวน 
     จะมีค่าเท่ากับค่าบวกหรือค่าลบของผลบวกค่าสัมบูรณ์ตามลำดับ
2.  ผลบวกระหว่างจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มลบ  คือ  ผลต่างระหว่าง
     ค่าสัมบูรณ์ทั้งสองโดยใช้ค่าสัมบูรณ์มากกว่าเป็นตัวตั้ง  แล้วใส่เครื่องหมาย
    ตามตัวมากกว่า
การลบจำนวนเต็ม ต้องอาศัยการบวกตามข้อตกลงดังนี้
        ตัวตั้ง - ตัวลบ = ตัวตั้ง + จำนวนตรงข้ามของตัวลบ
     ตัวอย่าง เช่น                    6 - 2   =   6 + (-2)
                                         2 - 6   =   2 + (-6)
                                   (-15) - 3   =  (-15) + (-3)
                    จะเห็นได้ว่า เวลาบวกเลขที่มีเครื่องหมาย ถ้าเครื่องหมายเหมือนกันก็เอาไป
            รวมกันถ้าเครื่องหมายต่างกันก็เอาไปหักกัน จำนวนที่เหลือก็มีเครื่องหมาย
            ตามจำนวนมากในการลบนั้น เราเปลี่ยนเครื่องหมายตัวลบให้
            เป็นตรงข้ามคือ ถ้าตัวลบเป็นจำนวนลบก็เปลี่ยนเป็นจำนวนบวกแล้ว
            เอาไปบวกกับตัวตั้งถ้าตัวลบเป็นจำนวนบวกก็เปลี่ยนเป็นจำนวนลบ
            แล้วเอาไปบวกกับตัวตั้ง
     ตัวอย่างเช่น                              5  +  4    =      9
                                                   5  +  (4)     =      1
                                                  (5)  +  4      =    – 1
                                              (–5)  +  (4)     =    – 9
                                     4  =  5  +  (4)     =      1
                       (5)  –  4  =   (5)  +  (4)     =    – 9          
                       (5)  –  (4)  =  (5)  +  4      =    – 1

การคูณจำนวนเต็ม
การคูณระหว่างจำนวนเต็มสองจำนวน อาศัยเรื่องผลคูณของค่าสัมบูรณ์ของจำนวนทั้งสอง  โดยมีเครื่องหมาย  ดังนี้
(+) x (+)    =     +                   (+) x ()    =     –
 () x (+)    =     –                  () x ()    =     +
ตัวอย่างที่  1  จงหาผลลัพธ์ของ
                          1.  4  x (3)     = -12                      2.  4  x (–7)     = -28                       
                          3.  (12) x 3     =   -36                   4.   (–84      = -32                                           

การหารจำนวนเต็ม                                
จงหาผลหาร
1.  -100 / 5 =   20                      3. 8 . -8 =   -1                                    
2.  - 42 /  - 6 =   7                     4. 15 / 5 =  3
ข้อสังเกต 
            1. จำนวนเต็มชนิดเดียวกันหารกันได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนเต็มบวก
            2. จำนวนเต็มคนละชนิดกันหารกันได้ผลลัพธ์เป็นจำนวนเต็มลบ

วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รูปเรขาคณิต

รูปเรขาคณิต
รูป เรขาคณิต หมายถึง รูปต่างๆ ทางเรขาคณิต เช่น
รูปสามเหลี่ยม มีด้าน 3 ด้าน มีมุม 3 มุม
รูปสี่เหลี่ยม มีด้าน 4 ด้าน มีมุม 4 มุม
รูปห้าเหลี่ยม มีด้าน 5 ด้าน มีมุม 5 มุม
รูปหกเหลี่ยม มีด้าน 6 ด้าน มีมุม 6 มุม
รูปแปดเหลี่ยม มีด้าน 8 ด้าน มีมุม 8 มุม
รูปวงกลม มีเส้นโค้งเป็นวงกลม และห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะทางเท่ากัน
รูปวงรี มีเส้นเส้นโค้งเป็นวงรี โดยห่างจากจุดศูนย์กลางไม่เท่ากัน
รูปทรง เรขาคณิตรูปทรงเรขาคณิต หมายถึง รูปที่มีส่วนที่เป็นพื้นผิว ส่วนสูง และส่วนลึก หรือหนา
รูปทรงกลม
รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
 รูปทรงกระบอกรูปเรขาคณิตสามมิติ
ระดับชั้นมัธยมต้นนี้ นักเรียนควรมีพื้นฐานเกี่ยวกับ พื้นที่ผิวและปริมาตรที่ควรทราบ ดังนี้
ปริซึม
ปริซึม เป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีหน้าตัด(ฐาน) ทั้งสองข้างเป็นรูปหลายเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการหน้าตัด (ฐาน) ทั้งสองอยู่ในระนาบที่ขนานกัน มีหน้าข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก การเรียกชื่อปริซึมจะเรียกตามรูปหน้าตัดของปริซึมส่วนต่างๆของปริซึมมีชื่อเรียก ดังนี้
ทรงกระบอกทรงกระบอก เป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานสองฐานเป็นรูปวงกลมที่เท่ากันทุกประการและอยู่บนระนาบที่ขนานกัน และเมื่อตัดรูปเรขาคณิตสามมิตินั้นด้วยระนาบที่ขนานกับฐานแล้ว จะได้หน้าตัดเป็นวงกลมที่เท่ากันทุกประการกันฐานเสมอ ด้านข้างเป็นผิวเรียบโค้งส่วนต่างๆของทรงกระบอก
ข้อแตกต่างของปริซึมกับทรงกระบอก คือ
– ฐาน ปริซึมเป็นรูปหลายเหลี่ยมทรงกระบอกเป็นวงกลม- ด้านข้าง ปริซึมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงกระบอกเป็นผิวเรียบโค้ง
พีระมิด
พีระมิด เป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมใดๆ มียอดแหลมที่ไม่อยุ่บนระนาบเดียวกันกับฐาน และหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกันที่ยอดแหลมนั้น การเรียกชื่อพีระมิดจะเรียกตามรูปฐานของพีระมิด
ส่วนต่างๆของพีระมิด

กรวย
กรวย เป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลม มียอดแหลมที่ไม่อยู่ในระนาบเดียวกันกับฐาน และเส้นที่ต่อระหว่างจุดยอดกับจุดใดๆ บนขอบของฐานเป็นส่วนของเส้นตรงดด้านข้างเป็นผิวโค้งเรียบระมิ
ส่วนต่างๆของกรวย
ข้อแตกต่างของพีระมิดกับกรวย คือ- ฐาน พีระมิดฐานรูปหลายเหลี่ยมกรวยฐานรูปวงกลม
– ด้านข้าง พีระมิดเป็นรูปสามเหลี่ยมผืนผ้า
กรวยเป็นผิวเรียบโค้ง
ทรงกลม
ทรงกลม เป็น รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีด้านข้างเป็นผิวโค้งเรียบ และจุดทุกจุดบนผิวโค้งอยู่ห่างจากจุดคงที่จุดหนึ่งเป็นระยะเท่ากัน เรียกจุดคงที่ว่า จุดศูนย์กลางของทรงกลม
เรียกระยะที่เท่ากันว่า รัศมีของทรงกลม
ส่วนต่างๆของทรงกลม